วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

บทเพลงที่ใช้ในวงออร์เคสตรา

บทเพลงที่ใช้ในวงออร์เคสตรา
            ซิมโฟนี (Symphony)
            เป็นบทเพลงต้นแบบของเพลงประเภทต่างๆ ที่ใช้บรรเลงสำหรับวงซิมโฟนีออร์เคสตรา ซึ่ง นิยมในยุคคลาสสิก (1750-1820) ส่วนใหญ่ประพันธ์โดยไฮเดิน (106 บทโมซาร์ท (ประมาณ 50 บทในยุคโรแมนติกเป็นบทเพลงที่มีความไพเราะ สง่างามและแสดงออกถึงอารมณ์ จิตวิญญาณของดนตรีในยุคผู้ประพันธ์ที่สำคัญ เช่น ชูเบิร์ต ชูมานน์ เป็นต้น ซิมโฟนีโดยปกติ   ประกอบด้วย 3-4 ท่อน โดยรูปแบบจังหวะแต่ละท่อนเป็นเร็ว-ช้า-เร็ว หรือ เร็ว-ช้า-เร็ว     ปานกลาง-เร็ว
            คอนแชร์โต (Concerto)
            เป็นบทเพลงสำหรับเครื่องดนตรีเดี่ยวเพื่อแสดงฝีมือของผู้บรรเลงร่วมบรรเลงกับวงออร์เคสตรา เกิดขึ้นในยุคบาโรกและมีแบบแผนที่เป็นมาตรฐานในยุคคลาสสิก ด้านรูปแบบมีลักษณะคล้ายกับซิมโฟนีแต่มีเพียง ท่อน ประกอบด้วย เร็ว-ช้า-เร็ว คอนแชร์โตที่นิยม คือ เปียโนคอนแชร์โตและไวโอลินคอนแชร์โต
            โอเปรา (Opera)
            เป็นละครเพลงร้องที่ใช้วงออร์เคสตราในการบรรเลงดนตรีประกอบ และดำเนินเรื่องใช้การร้องเป็นหลัก โอเปราแบ่งได้ ประเภท คือ โอเปรา ซีเรีย (Opera Seria) เป็นเรื่องราว  เกี่ยวกับชนชั้นสูง เนื้อหาเกี่ยวกับโศกนาฏกรรม ความรัก และโอเปรา ชวนหัว (Comic Opera, Opera buffa) เนื้อหาเป็นเรื่องสามัญชนทั่วไป แนวสนุกสนาน ตลกขบขัน ดำเนินเรื่องรวดเร็ว
            บางโอกาสอาจมีโอเปราอีก ประเภท คือ โอเปเรตตา (Operetta) เป็นโอเปราขนาดเล็ก มีแนวสนุกสนานทันสมัย ใช้การพูดแทนการร้องในบทสนทนา และคอนทินิวอัสโอเปรา (Continuous Opera) เป็นโอเปราที่ใช้ดนตรีเชื่อมโยงเรื่องราวตลอดตั้งแต่ต้นจนจบ
            ดนตรีบรรยายเรื่องราว (Simphonic poem)
            เป็นบทเพลงที่ใช้เสียงดนตรีสื่อความหมายต่างๆ หรือเล่าเรื่องราวตามความมุ่งหมายของ           ผู้ประพันธ์ ซึ่งอาจเป็นการเล่าเรื่องราวหรือบรรยายภาพในลักษณะการเลียนเสียงธรรมชาติ เช่น    น้ำไหล นกร้อง เป็นต้น บทเพลงประเภทนี้จะสื่ออารมณ์ความรู้สึกอย่างชัดเจน เกิดขึ้นใน             ยุคโรแมนติกและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
            บัลเลต์ (Ballet)
          เป็นบทเพลงที่ใช้สำหรับประกอบการแสดงละครคล้าย  โอเปร่า แต่ไม่มีบทร้อง ผู้แสดงใช้การเต้นบรรยายแทนการสนทนา ผู้ประดิษฐ์ท่าทางมีความสำคัญมากเพราะต้องสื่อเนื้อหาที่เข้ากับดนตรีและเนื้อเรื่อง ดนตรีบัลเลต์จัดเป็นดนตรีที่บรรเลงด้วยวงออร์เคสตร้าที่มีความไพเราะสามารถฟังได้โดยไม่ต้องมีการแสดงประกอบแต่ประการใด
          

ลักษณะของวงออร์เคสตราในแต่ละยุค

ลักษณะของวงออร์เคสตราในแต่ละยุค
ลักษณะของวงออร์เคสตราในแต่ละยุคแบ่งออกเป็นดังนี้
1) วงออร์เคสตราสมัยบาโรก (Baroque Orchestra)           เป็นวงออร์เคสตราสมัยแรก ๆ ของดนตรีประเภทคลาสสิก มาตรฐานของการจัดวงไม่มี ความแน่นอนนัก ลักษณะการจัดวงโดยทั่วไปจะให้ไวโอลินหนึ่ง (First Violins) อยู่ทางซ้ายมือ ของผู้อำนวยเพลง (Conductor) และให้ไวโอลินที่สอง (Second Violins) อยู่ทางขวามือ วิโอลา และเชลโลอยู่ตรงกลางส่วนดับเบิลเบสอยู่แถวหลังสุดของวง สำหรับเครื่องเป่าลมไม้ (Woodwinds Instruments) อยู่หลังกลุ่มไวโอลินที่หนึ่ง เครื่องเป่าทองเหลือง (Brass Instruments) อยู่ด้านหลังขวา เครื่องประกอบจังหวะ (Percussion) อยู่หลังสุดของวง นอกจากนี้ อาจจะมีฮาร์ปสิคอร์ดเล่นเป็นแนวเบส ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการผู้ประพันธ์เพลงและสถานที่ ที่ใช้ในการแสดงโดยทั่วไปมักมีจำนวนผู้เล่นประมาณ 20-30 คน
2) วงออร์เคสตราสมัยคลาสสิก (Classical Orchestra) 
          นับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 วงออร์เคสตราเริ่มมีแบบแผนมากขึ้นบทเพลงที่เขียนขึ้นก็ ้องการใช้ในวงที่มีจำนวนเครื่องดนตรีที่มากขึ้น ลักษณะการจัดวงโดยทั่วไปมีเครื่องดนตรีครบทั้ง 4 กลุ่ม ่วนจำนวนของเครื่องดนตรีแต่ละประเภทนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของวงและบทเพลงที่บรรเลง เนื่องจากว่าผู้ประพันธ์เพลงมักกำหนดจำนวนเครื่องดนตรีแต่ละชนิดเองซึ่งประกอบด้วยเครื่อง ดนตรีดังนี้
กลุ่มเครื่องสาย (
String Instruments)
 ได้แก่ ไวโอลินที่หนึ่ง ไวโอลินที่สอง วิโอลา เชลโลและดับเบิลเบส
กลุ่มเครื่องลมไม้ (
Woodwind Instruments)
 ได้แก่ ฟลูต โอโบ คลาริเนตและบาสซูน
กลุ่มเครื่องทองเหลือง (
Brass Instruments)
 ได้แก่ เฟรนช์ฮอร์น ทรัมเปต และทรอมโบน (บางโอกาส)
กลุ่มเครื่องประกอบจังหวะ (
Percussion Instruments) ได้แก่ กลองทิมปานี (บางครั้งอาจมีเครื่องประกอบจังหวะอื่นประกอบในบางโอกาส)

3) วงออร์เคสตราสมัยโรแมนติก ( Romantic Orchestra) 
          จากต้นสมัยบาโรกจนกระทั่งถึงปลายสมัยคลาสสิกผู้ประพันธ์เพลงต่างก็มีอิสระหลุดพ้นจากการครอบงำในด้านความคิดจึงส่งผลให้ผลงานที่แต่งขึ้นในสมัยนี้มีความสวยสดงดงามทำให้พัฒนาการของวงออร์เคสตรามาถึงจุดที่เป็นมาตรฐาน เนื่องจากมีการใช้สีสันของเครื่องดนตรีที่แตก ต่างกันมาใช้ในการแต่งเพลงจึงมีความหลากหลาย นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มจำนวนเครื่องดนตรีเข้า ไปเพื่อรองรับความคิดดังกล่าว เพื่อคุณภาพของเสียงที่แสดงพลังอำนาจของวงออร์เคสตราอย่าง แท้จริงจึงทำให้วงออร์เคสตราในสมัยนี้มีขนาดใหญ่ ประกอบด้วย
กลุ่มเครื่องสาย (String Instruments) ได้แก่ ไวโอลินที่หนึ่ง ไวโอลินที่สอง วิโอลาเชลโลและดับเบิลเบส
กลุ่มเครื่องลมไม้ (
Woodwind Instruments)
 ได้แก่ ฟลูต โอโบ คลาริเนตและบาสซูน
 กลุ่มเครื่องทองเหลือง (
Brass Instruments)
 ได้แก่ ทรัมเปต ทรอมโบน ทูบาและเฟรนช์ฮอร์น
กลุ่มเครื่องประกอบจังหวะ (
Percussion Instruments) ได้แก่ กลองทิมปานี

4) วงออร์เคสตราสมัยศตวรรษที่ 20 ( The Twentieth Century Orchestra) 
 
          เนื่องจากความเจริญในทุก ๆ ด้านของสมัยนี้จึงทำให้ขนาดของวงออร์เคสตรามีความแตก ต่างกันออกไปตามสภาพสังคมและเศรษฐกิจรวมถึงความเจริญทางด้านเทคโนโลยีได้มีการผลิต เครื่องดนตรีที่ใช้ไฟฟ้าที่เราเรียกว่า“ซินธิไซเซอร์
(Synthesizer) ซึ่งสามารถปรับแต่งเสียงเครื่อง ดนตรีได้เกือบทุกชนิด บางครั้งนำเข้ามาบรรเลงร่วมกับวงออร์เคสตรา จึงทำให้วงออร์เคสตราใน สมัยนี้มีหลายขนาด โดยปกติมักแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ วงออร์เคสตราขนาดเล็กมักประกอบด้วยผู้เล่นไม่เกิน 60 คน และวงออร์เคสตราขนาดใหญ่มักประกอบด้วยผู้เล่นประมาณ 80 -100 คน ซึ่งจำนวนเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ประพันธ์เพลงเช่นกันส่วนใหญ่ กลุ่มเครื่องสายจะเป็นอัตราส่วน 1 ใน 4 ของผู้เล่นทั้งหมด ส่วนเครื่องอื่น ๆ ก็แล้วแต่ความ เหมาะสมและความสมดุล ประกอบด้วยเครื่องดนตรีดังนี้
กลุ่มเครื่องสาย (String Instruments) ได้แก่ ไวโอลินที่หนึ่ง ไวโอลินที่สอง วิโอลาเชลโลและ ดับเบิลเบส
กลุ่มเครื่องลมไม้ (
Woodwind Instruments)
 ได้แก่ ฟลูต พิคโคโล โอโบ คลาริเนตเบสคลาริเนตและบาสซูน
กลุ่มเครื่องทองเหลือง (
Brass Instruments)
 ได้แก่ ทรัมเปต ทรอมโบน ทูบา และ เฟรนช์ฮอร์น
กลุ่มเครื่องประกอบจังหวะ (
Percussion Instruments) ได้แก่ กลองทิมปานี
                นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเครื่องดนตรีที่นำมาบรรเลงร่วมในวงออร์เคสตราในสมัยนี้ประกอบด้วย ฮาร์ป เปียโนและออร์แกน (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทเพลงนั้น ๆ ) ส่วนในกลุ่มของเครื่องประกอบจังหวะที่ เพิ่มเข้ามาด้วยเหตุผลเดียวกัน ประกอบด้วย กลองทิมปานี กลองเล็ก กลองใหญ่ ฉาบ กิ่ง ระฆังราว ฆ้อง ไซโลโฟนและวู้ดบล็อก
จากข้างต้นที่กล่าวมาเกี่ยวกับขนาดของวงออร์เคสตรานั้นได้กำหนดจำนวนของผู้เล่นพอ สรุปได้ดังนี้
- วงออร์เคสตราขนาดเล็ก (
Small Orchestra) มีผู้เล่นประมาณ 40-60 คน
- วงออร์เคสตราขนาดกลาง (
Medium Orchestra)
 มีผู้เล่นประมาณ 60-80 คน
- วงออร์เคสตราขนาดใหญ่ (
Full Orchestra) มีผู้เล่นประมาณ 80-100 คน
                ขนาดของวงออร์เคสตร้าจะมีขนาดใหญ่หรือเล็กนั้นให้ถือเอากลุ่มเครื่องสายเป็น หลักสำคัญ ในการจัดขนาดของวง
 
วงออร์เคสตรายุคศตวรรษที่ 20 ( The Twentieth Century Orchestra)
ที่มา : Microsoft The Attica Guide To Classical Music,1996
 
ที่มา : Microsoft Encarta'95,1995
กลุ่มเครื่องประกอบจังหวะ
5) วงแชมเบอร์มิวสิค (Chamber Music)
                วงดนตรีประเภทแชมเบอร์มิวสิคจัดเป็นการผสมวงดนตรีของตะวันตกอีกประเภทหนึ่งซึ่งมีความเป็นมายาวนานมากนับตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 14 หรือยุคกลาง (
Middle Age) เป็นต้นมา ได้มีการผสมวงโดยซึ่งพบในบทเพลงโมเต็ท (Motet) และแมดริกัล (Madrigal) ซึ่งเป็นบทเพลงขับร้อง นับตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 14 จนถึงต้นศตวรรษที่ 16 เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายและเครื่องลมได้เข้ามาบรรเลงร่วมกับการขับร้อง
                
Webster's Dictionary ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า " แชมเบอร์มิวสิค" ไว้ว่า "Instrumental music suitable for performance in a chamber or a small audience hall" ซึ่งศาสตราจารย์ไขแส ศุขะวัฒนะ (2525:20) แปลเป็นภาษาไทยว่า " ดนตรีประเภทบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีที่เหมาะสำหรับแสดงภายในห้องโถงหรือสถานที่ที่จุผู้ฟังได้เพียงจำนวนน้อย" หรือจะเรียกดนตรีประเภทนี้ว่า แชมเบอร์มิวสิคเป็นดนตรีของนักดนตรี (musicians' music) , ดนตรีของมิตรสหาย (music of friends) และ ดนตรีในหมู่เพื่อนฝูง (music among friends)

                ในสมัยแรก ๆ วงดนตรีประเภทนี้เหมาะสำหรับการบรรเลงในบ้าน คฤหาสน์ของขุนนาง หรือห้องที่จุผู้ฟังได้จำนวนน้อยซึ่งผู้จัดงานมีแขกพอประมาณ ต่อมาวงแชมเบอร์มิวสิคเล่นในห้องโถงที่มีขนาดใหญ่ และในที่สุดต้องเล่นในคอนเสิร์ตฮอลล์ (
Concert hall) หรือสังคีตสถาน อย่างเช่นศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เป็นต้น การฟังดนตรีประเภทแชมเบอร์มิวสิคต้องมีความรู้ความเข้าใจเช่นเดียวกับการฟังดนตรีคลาสสิกทั่ว ๆ ไป      
                เนื่องจากดนตรีประเภทนี้ใช้ผู้เล่นเพียงไม่กี่คน ฉะนั้นเสียงที่ออกมาจะยิ่งใหญ่มโหฬารหรือความมีพลัง อย่างวงออร์เคสตราก็ทำไม่ได้ ลักษณะเด่นของวงดนตรีประเภทนี้ก็คือเสียงดนตรีที่แท้จริง สำหรับด้านคุณภาพของการเล่นนั้นผู้เล่นต้องใช้ความสามารถอย่างเต็มที่ผู้ใดเล่นผิดพลาดจะได้ยินอย่างเด่นชัด ความถูกต้องความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของดนตรีประเภทนี้

             การฟังเพื่อให้ได้รสชาติที่สมบูรณ์ของแชมเบอร์มิวสิคนั้นไม่ได้อยู่แต่เพียงความตั้งอกตั้งใจฟังอย่างไตร่ตรอง แต่ยังต้องอาศัยบรรยากาศที่เอื้อต่อการฟังอีกด้วย
เนื่องด้วยดนตรีประเภทนี้บรรเลงด้วยกลุ่มนักดนตรีเพียงไม่กี่คนประกอบกับไม่ได้มีการใช้เครื่องขยายเสียงหรือตู้แอมป์ สถานที่ที่เหมาะกับการบรรเลงและการฟังจึงควรเป็นห้องโถงตามบ้าน หรือห้องฟังดนตรีขนาดเล็กเพราะผู้ฟังทุกคนสามารถฟังเสียงของเครื่องดนตรีทุก ๆ ชิ้นได้อย่างชัดเจนและสัมผัสกับดนตรีได้อย่างใกล้ชิดวง
แชมเบอร์มิวสิคจะมีชื่อเรียกต่างกันออกไปตามจำนวนของผู้บรรเลงต้องมีนักดนตรีตั้งแต่สองคนขึ้นไปถึงเก้าคนดังนี้
- ผู้บรรเลง 2 คน เรียก ดูโอ (
Duo)
- ผู้บรรเลง 3 คน เรียก ทริโอ (
Trio)
- ผู้บรรเลง 4 คน เรียก ควอเต็ต (
Quartet)
- ผู้บรรเลง 5 คน เรียก ควินเต็ต (
Quintet)
- ผู้บรรเลง 6 คน เรียก เซกซ์เต็ต (
Sextet)
- ผู้บรรเลง 7 คน เรียก เซพเต็ต (
Septet)
- ผู้บรรเลง 8 คน เรียก ออคเต็ต (
Octet)
- ผู้บรรเลง 9 คน เรียก โนเน็ต (
Nonet)
ในการเรียกชื่อวงแชมเบอร์มิวสิคนั้นยังมีประเพณีในการเรียกอีกอย่างคือเรียกชื่อประเภทของเครื่องดนตรีก่อนแล้วตามด้วยจำนวนเครื่องดนตรีเช่น สตริงควอเต็ต หมายถึงวงแชมเบอร์มิวสิคที่ประกอบด้วย ไวโอลิน 2 คัน, วิโอลาและเชลโล เป็นต้น
                เครื่องดนตรีที่นำรวมกันเป็นวงแชมเบอร์มิวสิคนั้นที่นิยมแพร่หลายนั้นได้แก่กลุ่มเครื่องสาย ตระกูลไวโอลิน เพราะสุ้มเสียงของเครื่องตระกูลนี้ไม่ว่าจะเป็นไวโอลิน
, วิโอลา, และเชลโล ล้วนสามารถกลมกลืนเข้ากันได้เป็นอย่างดี เช่น วงสตริงควอเต็ต ( ไวโอลิน 2 คัน, วิโอลาและเชลโล) ซึ่งถือว่าเป็นวงดนตรีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการผสมวงดนตรีประเภทนี้ควรเป็นเครื่องดนตรีที่อยู่ในตระกูลเดียวกันเพราะสุ้มเสียงที่มีสีสัน (Tone color) เดียวกันอีกทั้งยังไม่มีการแสดงความเด่นข่มสุ้มเสียงอื่น

 
การผสมวงที่ใช้เครื่องสายไวโอลิน 2 คัน รวมเรียกว่า " สตริงดูโอ" (String Duo) ในงานของ ลุยส์ ชโปร์ ( ค. ศ.1784-1859) คีตกวีและนักไวโอลินชาวเยอรมัน และของบาร์ท้อค
          ในยุคบาโรคการได้มีการปรับปรุงการจัดวงแชมเบอร์มิวสิคได้รู้จักกันในชื่อว่า " ทริโอโซนาตา" (Trio sonata) โดยโซนาตาชนิดนี้มีผู้บรรเลง 4 คน คือ ผู้บรรเลงเดี่ยว 2 คน และผู้บรรเลงแนวล่างสุดหรือ คอนตินูโอ (Continuo) อีก 2 คน ถึงแม้ว่าจะมีจำนวนผู้บรรเลง 4 คนก็ตามแต่ให้ถือว่ามี 3 แนว คือ สองแนวแรกเป็นแนวของเครื่องดนตรีบรรเลงเดี่ยว และแนวที่สามนั้นเป็นของเครื่องดนตรีคอนตินูโอ เช่น บาโรคทริโอโซนาตา ประกอบด้วย ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ 2, ฮาร์พซิคอร์ดและเชลโล
  
นอกจากนี้ยังมีการผสมวงแบบต่าง ๆ ด้วยเครื่องสายและเปียโน เช่น เปียโนทรีโอ ( เปียโน, ไวโอลินและเชลโล)
          ปัจจุบันในประเทศไทยเราก็ได้มีการพัฒนาวงดนตรีประเภทแชมเบอร์มิวสิคขึ้นมาเช่นกันโดยการนำเอาเครื่องดนตรีตระกูลแซ็กโซโฟน ( โซปราโน, อัลโต, เทเนอร์และบาริโทนแซ็กโซโฟน) มารวมกันเป็น " วงบางกอกแซ็กโซโฟนควอเต็ต" โดย รองศาสตราจารย์ ดร. สุกรี เจริญสุข และสมาชิก ตั้งแต่ปี พ. ศ. 2532
  
การผสมวงที่ใช้เครื่องลมบางชนิดรวมกัน เช่น โอโบ 2, คลาริเนท 2 , บาสซูน 2 และ แตรเฟรนช์ฮอร์น 2 รวมเรียกว่า " วินด์อ๊อคเต็ต" (Wind Octet)
  
  
          นอกจากนี้ยังมีคำว่า " อองซองค์เบิล" (Ensemble) เป็นภาษฝรั่งเศส ซึ่งมีความหมายว่า " ด้วยกัน" เป็นลักษณะของการบรรเลงดนตรีจากผู้เล่นหลาย ๆ คนมีจำนวนผู้เล่นไม่เกิน 20 คน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจในการแสดงของทุกคนรวมถึงความสามารถของนักดนตรีแต่ละคน
ในกรณีที่กลุ่มนักดนตรีไม่ว่าชนิดที่มีเฉพาะผู้เล่นเครื่องสายล้วน ๆ และมีผู้เล่นเครื่องลมผสมอยู่บ้างแต่รวมแล้วไม่เกิน 30 คน โดยสัดส่วนของวงเช่นเดียวกับวงออร์เคสตรา กลุ่มนักดนตรีนี้ก็จะเรียกว่า " วงออร์เคสตราแชมเบอร์มิวสิค" (Chamber Orchestra)
ลักษณะการผสมวงแบบแชมเบอร์มิวสิคนี้หากนักดนตรีที่มารวมกันนั้นเป็นนักศึกษามาจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ กัน อาจเป็นการรวมวงระหว่างอาจารย์หรือนักศึกษาที่มีความสามารถทางดนตรีเป็นเยี่ยม เรามักจะเรียกการรวมวงประเภทนี้ว่า " โปรมิวสิคกา ออร์เคสตรา" (Promusica Orchestra)
6) วงแบนด์ (Band)
                วงแบนด์เป็นลักษณะของการผสมวงดนตรีอีกประเภทหนึ่งของตะวันตกที่มีเครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องเป่าเป็นหลักและมีเครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องประกอบจังหวะผสมวงบรรเลงร่วมกัน การผสมวงแบนด์แบ่งตามประเภทได้ดังนี้
2.1 วงคอนเสิร์ตแบนด์ 
ดนตรีที่มีขนาดปานกลางมีผู้นักดนตรีประมาณ 30-45 คน ประกอบด้วยเครื่องดนตรี 3 กลุ่ม คือ
- กลุ่มเครื่องลมไม้ (
Woodwind) ได้แก่ แซ็กโซโฟน , บาสซูน , โอโบ , คลาริเนท ,ฟลูท และปิคโคโล ( ในบางโอกาสมักใช้ผู้เล่นคนเดียวกัน )
- กลุ่มเครื่องทองเหลือง (
Brass) ได้แก่ ทรัมเป็ต , ทรอมโบน , ทูบา , ยูโฟเนียม ,
 เฟรนช์ฮอร์นและคอร์เน็ต
- กลุ่มเครื่องตีประกอบจังหวะ (
Percussion) ได้แก่ กลองทิมปานี , กลองเล็ก , กลองใหญ่ , กิ่ง , มาริมบา , ฉาบ และระฆังราว ( ขึ้นอยู่กับเพลงด้วย )

                วงคอนเสิร์ตแบนด์มักใช้นั่งบรรเลงเป็นหลัก โดยปกติขณะที่นั่งบรรเลงจะต้องมีผู้อำนวยเพลง (
Conductor) คอยควบคุมจังหวะและปรับความสมดุลของเพลงด้วย เพลงที่ใช้บรรเลงมักเป็นเพลงทั่ว ๆ ไปหรือเพลงที่ใช้เฉพาะในงานนั้น ๆ ซึ่งเพลงที่นำมาบรรเลงจะต้องเป็นเพลงที่เขียน ขึ้นมาเพื่อใช้กับวงคอนเสิร์ตแบนด์โดยเฉพาะเท่านั้น เพราะในการเรียบเรียงเสียงประสานนั้นผู้ที่ เรียบเรียง ฯ จะทราบจำนวนและเป็นผู้กำหนดเครื่องดนตรีเอง หากนำเพลงที่เรียบเรียงให้วงที่มีจำนวนนักดนตรีมากมาให้วงที่มีนักดนตรีน้อยเล่นอาจทำให้ทำนองหลักของเพลงขาดหายไปก็เป็นไปได้เนื่องจากจำนวนนักดนตรีไม่เท่ากัน
2.2. วงแตรวง (Brass Band) 
      เป็นวงดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบในการเดินแถวของทหาร การสวนสนาม พิธีแห่ต่าง ๆ และใช้บรรเลงประกอบในงานกีฬา ประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ
- กลุ่มเครื่องทองเหลือง (
Brass) ได้แก่ ทรัมเป็ต , ทรอมโบน , ทูบา , ยูโฟเนียม , บาริโทน ,
 เฟรนช์ฮอร์นและคอร์เน็ต
- กลุ่มเครื่องตีประกอบจังหวะ (
Percussion) ได้แก่ , กลองเล็ก , กลองใหญ่ , ในขณะใช้เดินแถวนั้นวงแตรวงจะต้องมีคทากรหรือดรัมเมเยอร์ (Drum Major) เดินถือไม้คทานำหน้าแถวเพื่อทำหน้าที่ให้สัญญาณต่าง ๆ นอกจากนี้วงแตรวงยังถือว่าเป็นต้นแบบของดนตรีแจ๊ส
2.3 วงโยธวาทิต (Military Band) 
      คำว่า " โยธวาทิต " ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง " วงดนตรีที่บรรเลงโดยทหาร ซึ่งมาจากคำว่า โยธ แปลว่า ทหาร รวมกับคำว่า วาทิต แปลว่า ดนตรี หรือผู้บรรเลงดนตรี " วงโยธวาทิตเป็นวงดนตรีที่มีลักษณะคล้ายกับวงคอนเสิร์ตแบนด์ทุกประการเพียงแต่เรียกชื่อต่างกันเท่านั้น กล่าวคือ ในขณะที่วงโยธวาทิตใช้ประกอบการเดินแถวสวนสนามหรือแสดงการแปรแถวกลางแจ้งเราเรียกว่าการ " แสดงดนตรีสนาม " (Display) แต่เมื่อวงโยธวาทิตบรรเลงโดยการนั่งบรรเลงเราเรียกว่า " คอนเสิร์ตแบนด์ " (Concert Band) สำหรับการใช้งานนั้นคล้ายกับวงแตรวง ยกเว้นเครื่องดนตรีที่ประกอบในวงโยธทิตนั้นประกอบด้วยเครื่องดนตรี 3 กลุ่ม คือ - กลุ่มเครื่องลมไม้ (Woodwind) ได้แก่ แซ็กโซโฟน , บาสซูน , โอโบ , คลาริเนท , ฟลูท และปิคโคโล ( ในบางโอกาสมักใช้ผู้เล่นคนเดียวกัน )
- กลุ่มเครื่องทองเหลือง (
Brass) ได้แก่ ทรัมเป็ต , ทรอมโบน , ทูบา , ยูโฟเนียม ,
 คอร์เน็ตและเฟรนช์ฮอร์น
- กลุ่มเครื่องตีประกอบจังหวะ (
Percussion) ได้แก่ , กลองเล็ก , กลองใหญ่ , , ฉาบ

ส่วนประกอบของวงออร์เคสตรา

ส่วนประกอบของวงออร์เคสตรา
วงออร์เคสตราประกอบด้วยเครื่องดนตรีหลัก 4 กลุ่ม  คือ
1. กลุ่มเครื่องสาย (
String Instruments)
ประกอบด้วย ไวโอลินที่ 1 ไวโอลินที่ 2 วิโอลา เชลโล่ และดับเบิลเบส

2. กลุ่มเครื่องลมไม้ (
Woodwind Instruments) 
ประกอบด้วย โอโบ คลาริเน็ต ฟลุ๊ต คอร์แองกอลซ์(หรือเรียก อิงลิช ฮอร์น) บาซซูน (หรืออาจจะมีแซ็กโซโฟนประกอบอยู่ด้วยบางเพลง)

3. กลุ่มเครื่องทองเหลือง (
Brass Instruments)
ประกอบด้วย ทรัมเป็ต ทรอมโบน ทูบา เฟรนช์ฮอร์น เบสทรอมโบน (อาจจะมีซูซาโฟนประกอบด้วย)

4. กลุ่มเครื่องประกอบจังหวะ (
Percussion Instruments)
ประกอบด้วย ทิมปานี สแนร์ดรัม(กลองแท็ก) เบสดรัม ฉาบ ไทรแองเจล วู๊ดบลอก แทมบูริน มาริมบา(ระนาดเหล็กฝรั่ง) ไซโลโฟน(ระนาดฝรั่ง) ก็อคคิ่นสเปียล์(เรียกอีกอย่างว่า เบลไลรา)

ประวัติวงออร์เครสตรา

ประวัติของวงออร์เคสตร้า
ออร์เคสตร้า เป็นภาษาเยอรมันตามความหมายรูปศัพท์ หมายถึง สถานที่เต้นรำ(Dancing place)
ซึ่งหมายถึง ส่วนหน้าเวทีของโรงละครสมัยกรีกโบราณที่ใช้เป็นสถานที่เต้นรำ และร้องเพลงของพวกนักร้องประสานเสียง ออร์เคสตร้าเป็นคำที่ใช้กับวงดนตรีทุกประเภท เช่น วงดนตรีของชาวอินโดนีเซีย เรียกว่าวงกำเมออร์เคสตร้า(The Gamelan Orchestra) หรือวงกากากุออร์เคสตราของญี่ปุ่น (The Gagaku Orchestra) สำหรับดนตรีตะวันตก ออร์เคสตรามีความหมายถึงวงซิมโฟนีออร์เคสตร้าได้แก่วงดนตรีประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย รวมกับเครื่องลมไม้ เครื่องลมทองเหลือง และเครื่องตีความหมายของออร์เคสตร้า
ได้เปลี่ยนแปลงไปในสมัยกลาง โดยหมายถึง ตัวเวทีที่ใช้แสดงเท่านั้น ต่อมาในกลางศตวรรษที่ ๑๘
คำว่า ออร์เคสตร้า หมายถึง การแสดงของวงดนตรี ซึ่งเป็นความหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันอย่างไรก็ตาม
คำนี้ยังคงใช้ในอีกความหมายหนึ่ง คือ พื้นที่ระดับต่ำ เป็นที่นั่งอยู่หน้าเวทีละครและโรงแสดงคอนเสิร์ต
แต่เดิมแม้จะมีการใช้เครื่องดนตรีเล่นในลักษณะทำนองเดียวกับการร้อง|ในยุคเมดิอีวัล และรีเนซอลส์ แต่วงออร์เคสตร้าไม่มีการระบุเครื่องดนตรีหรือจำนวนเครื่องดนตรีที่แน่นอนในการใช้บรรเลงแต่
ประการใด ต่อมาในศตวรรษที่ ๑๖ เมื่อมีโอเปราเกิดขึ้น ความจำเป็นในการกำหนดเครื่องดนตรีก็เกิด
ขึ้นด้วย เพราะต้องการให้การบรรเลงกลมกลืนไปกับเสียงร้องของนักร้องโอเปราในเรื่อง ออร์เฟโอ
(Orfeo ๑๖๐๗), และมอนเทแยวร์ดี (Montevedi) จึงเริ่มมีการกำหนดเครื่องดนตรีในบทเพลง และเป็นจุดเริ่มการพัฒนาของวงออร์เคสตร้า โดยระยะแรกเป็นลักษณะของวงสายออร์เคสตร้า
(String Orchestra) ซึ่งมีจำนวนผู้เล่น ๒๐-๒๕ คน แต่บางครั้งอาจจะมีมากกว่านี้ ทั้งนี้ ขึ้นกับความ
ต้องการของผู้ประพันธ์เพลง ต่อมาในศตวรรษที่ ๑๗ ออร์เคสตร้ามีการเพิ่มเครื่องลมไม้
และตอนปลายยุคบาโรค (ประมาณ ค.ศ.๑๗๕๐) ผู้ประพันธ์เพลงนิยมบอกจำนวนเครื่องดนตรี
ไว้ในบทเพลงโดยละเอียด นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มเครื่องลมทองเหลือง และเครื่องประกอบจังหวะ
ในวงออร์เคสตร้าด้วยกลางศตวรรษที่ ๑๘วงออร์เคสตร้ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายโดยมี
การจัดวางเครื่องสายทุกชนิดอย่างเป็นระบบจนมีลักษณะคล้ายคลึงกับวงออร์เคสตร้าในปัจจุบัน และมีการนำเครื่องดนตรีบางชิ้นมาแทนเครื่องดนตรีที่เคยมีใช้กันมากแต่เดิมเช่นมีการนำฟลุท มาแทน
ขลุ่ยรีคอเดอร์ มีการเพิ่มคลาริเนท เข้ามาในกลุ่มประเภทของเครื่องลมไม้ เป็นต้น
อย่างไรก็ดี อาจกล่าวได้ว่า ยุคที่วงออร์เคสตร้าเป็นรูปแบบขึ้นมาจนได้มาตรฐาน คือ ยุคคลาสสิก เหตุผล
ประการหนึ่ง คือ บทเพลงประเภทซิมโฟนี นอกจากนี้การบรรเลงเพลงประเภทคอนแชร์โต
โอเปรา และเพลงร้องเกี่ยวกับศาสนาก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้การพัฒนาวงออร์เคสตร้าเป็น
แบบแผนขึ้น กล่าวคือ ทำให้มีเครื่องดนตรีทุกประเภทประกอบเข้าเป็นวง ได้แก่ เครื่องสาย
เครื่องลมไม้ เครื่องเป่า และเครื่องตี โดยในแต่ละกลุ่มเครื่องดนตรีก็มีเครื่องพื้นฐานครบถ้วน เช่น ในกลุ่มเครื่องสายประกอบไปด้วยไวโอลิน วิโอลา วิโอลอนเชลโลและดับเบิ้ลเบสในกลุ่มเครื่องลมไม้
ประกอบไปด้วย ฟลูท คลาริเนท โอโบ บาสซูนในกลุ่มของเครื่องลมทองประกอบไปด้วย ฮอร์น
ทรัมเปต และทูบา ในกลุ่มของเครื่องตีจะมีกลองทิพพานี กลองใหญ่ และเครื่องทำจังหวะอื่น ๆ
ซึ่งในรายละเอียด การจัดวงจะมีแตกต่างไปบ้างตามความต้องการของผู้ประพันธ์เพลง เช่น
บางครั้งอาจจะมี ฮาร์พ ปิกโกโล เพิ่มเข้าไปด้วย เป็นต้นในตอนต้นของศตวรรษที่ ๑๙ เบโธเฟน ได้ปรับเปลี่ยนแปลงบางอย่างเกี่ยวกับจำนวนเครื่องดนตรี เช่น เพิ่มฮอร์นเป็น ๔ ตัว และเติมเครื่องตี
ต่าง ๆเช่น ฉาบ สามเหลี่ยม เข้าไป ในราวกลางศตวรรษที่ ๑๙ ซึ่งเป็นยุคโรแมนติกได้มีการเพิ่ม
เครื่องดนตรีเข้าไปทำให้ออร์เคสตร้าเป็นวงที่ใหญ่ขึ้น เช่นเบร์ลิโอส (Berlioz) ได้เพิ่ม
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าทั้งหลายเป็นอย่างละ ๔ เครื่องทั้งหมด ประเภทเครื่องสาย
เช่น ไวโอลิน เพิ่มเป็น ๒๘ เครื่อง ซึ่งแต่เดิมมีประมาณ ๑๐-๑๒ เครื่องเท่านั้นนักประพันธ์
แนวโรแมนติก เช่น บราห์มส์ (Brahms)เมนเดลซอน (Mendelssohn) และชูมานน์
(Schumann) ล้วนแต่ต้องการวงออร์เคสตร้าขนาดใหญ่ทั้งสิ้นเพื่อแสดงพลังของบทเพลง
ที่ตนประพันธ์ขึ้นมา บางครั้งจึงต้องการผู้เล่นถึง ๑๐๐ คนต่อมาในยุคโรแมนติกความนิยม
ในบทเพลงประเภทบรรยายเรื่องราว (Symphonic poem)มีมากขึ้น ซึ่งบทเพลงประเภทนี้
มีส่วนทำให้มีการเพิ่มขนาดของ วงออร์เคสตร้าไปด้วย เพราะบทเพลงประเภทนี้ต้องการเล่าเรื่อง
โดยใช้ดนตรี จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องดนตรีชนิดต่างๆ บรรยายเรื่องราวให้ได้ตามที่ผู้ประพันธ์เพลง
ตั้งใจไว้ นอกจากนี้ บทเพลงประเภทโอเปราบัลเลท์ และบทเพลงร้องแบบประสานเสียงต่างก็ล้วนทำให้
วงออร์เคสตร้าต้องเพิ่มขนาดขึ้นเพื่อความยิ่งใหญ่สมจริงสมจังเสมอมาความยิ่งใหญ่ของวงออร์เคสตร้า
ในช่วงศตวรรษที่ ๑๙ จนถึงศตวรรษที่ ๒๐ ได้เริ่มลดลง หลังสงคราม โลก ครั้งที่ ๑เนื่องจากเหตุผล
ทางเศรษฐกิจ และทางด้านสุนทรียรส เช่น จำนวนของเครื่องเป่าที่เคยใช้ถึง ๔ เครื่อง ลดลงเหลือ ๓เครื่อง
และไวโอลิน จะใช้เพียง ๒๔ เครื่อง เป็นต้นแม้ว่าวงซิมโฟนีออร์เคสตร้าในช่วงปลายศตวรรษที่ ๒๐ จะยังมีบทบาทสำคัญในดนตรีตะวันตก แต่ปัจจัยทางเศรษฐกิจ รวมถึงแนวการประพันธ์เพลงก็มีส่วนในการ
กำหนดวงออร์เคสตร้า อย่างไรก็ดีสิ่งที่ว่านี้ก็มิได้เป็นตัวกีดกั้นการสร้างสรรค์ผลงานที่ใช้วงออร์เคสตร้า
ของผู้ประพันธ์เพลงแต่ประการใด