บทเพลงที่ใช้ในวงออร์เคสตรา
ซิมโฟนี (Symphony)
เป็นบทเพลงต้นแบบของเพลงประเภทต่างๆ ที่ใช้บรรเลงสำหรับวงซิมโฟนีออร์เคสตรา ซึ่ง นิยมในยุคคลาสสิก (1750-1820) ส่วนใหญ่ประพันธ์โดยไฮเดิน (106 บท) โมซาร์ท (ประมาณ 50 บท) ในยุคโรแมนติกเป็นบทเพลงที่มีความไพเราะ สง่างามและแสดงออกถึงอารมณ์ จิตวิญญาณของดนตรีในยุคผู้ประพันธ์ที่สำคัญ เช่น ชูเบิร์ต ชูมานน์ เป็นต้น ซิมโฟนีโดยปกติ ประกอบด้วย 3-4 ท่อน โดยรูปแบบจังหวะแต่ละท่อนเป็นเร็ว-ช้า-เร็ว หรือ เร็ว-ช้า-เร็ว ปานกลาง-เร็ว
คอนแชร์โต (Concerto)
เป็นบทเพลงสำหรับเครื่องดนตรีเดี่ยวเพื่อแสดงฝีมือของผู้บรรเลงร่วมบรรเลงกับวงออร์เคสตรา เกิดขึ้นในยุคบาโรกและมีแบบแผนที่เป็นมาตรฐานในยุคคลาสสิก ด้านรูปแบบมีลักษณะคล้ายกับซิมโฟนีแต่มีเพียง 3 ท่อน ประกอบด้วย เร็ว-ช้า-เร็ว คอนแชร์โตที่นิยม คือ เปียโนคอนแชร์โตและไวโอลินคอนแชร์โต
โอเปรา (Opera)
เป็นละครเพลงร้องที่ใช้วงออร์เคสตราในการบรรเลงดนตรีประกอบ และดำเนินเรื่องใช้การร้องเป็นหลัก โอเปราแบ่งได้ 2 ประเภท คือ โอเปรา ซีเรีย (Opera Seria) เป็นเรื่องราว เกี่ยวกับชนชั้นสูง เนื้อหาเกี่ยวกับโศกนาฏกรรม ความรัก และโอเปรา ชวนหัว (Comic Opera, Opera buffa) เนื้อหาเป็นเรื่องสามัญชนทั่วไป แนวสนุกสนาน ตลกขบขัน ดำเนินเรื่องรวดเร็ว
บางโอกาสอาจมีโอเปราอีก 2 ประเภท คือ โอเปเรตตา (Operetta) เป็นโอเปราขนาดเล็ก มีแนวสนุกสนานทันสมัย ใช้การพูดแทนการร้องในบทสนทนา และคอนทินิวอัสโอเปรา (Continuous Opera) เป็นโอเปราที่ใช้ดนตรีเชื่อมโยงเรื่องราวตลอดตั้งแต่ต้นจนจบ
ดนตรีบรรยายเรื่องราว (Simphonic poem)
เป็นบทเพลงที่ใช้เสียงดนตรีสื่อความหมายต่างๆ หรือเล่าเรื่องราวตามความมุ่งหมายของ ผู้ประพันธ์ ซึ่งอาจเป็นการเล่าเรื่องราวหรือบรรยายภาพในลักษณะการเลียนเสียงธรรมชาติ เช่น น้ำไหล นกร้อง เป็นต้น บทเพลงประเภทนี้จะสื่ออารมณ์ความรู้สึกอย่างชัดเจน เกิดขึ้นใน ยุคโรแมนติกและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
บัลเลต์ (Ballet)
เป็นบทเพลงที่ใช้สำหรับประกอบการแสดงละครคล้าย โอเปร่า แต่ไม่มีบทร้อง ผู้แสดงใช้การเต้นบรรยายแทนการสนทนา ผู้ประดิษฐ์ท่าทางมีความสำคัญมากเพราะต้องสื่อเนื้อหาที่เข้ากับดนตรีและเนื้อเรื่อง ดนตรีบัลเลต์จัดเป็นดนตรีที่บรรเลงด้วยวงออร์เคสตร้าที่มีความไพเราะสามารถฟังได้โดยไม่ต้องมีการแสดงประกอบแต่ประการใด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น